ประวัติน้ำหอม ตอนที่ 2
ประวัติความเป็นมาของน้ำหอมจากยุคกลาง สู่ศตวรรษที่ 17ความตกต่ำของจักรวรรดิ์โรมัน และจากการรุกรานของพวกป่าเถื่อน (Barbarian) และสงครามที่ไม่มีวันจบสิ้น ส่งผลให้ความเจริญทางด้านน้ำหอมของโลกตะวันตกได้ตกอยู่ในโลกมืด ความสำคัญเกี่ยวกับน้ำหอมที่มีต่อชีวิตประจำวันได้ลดน้อยลง ตราบจนกระทั่งในศตวรรษที่ 20 จากการพัฒนาทางการค้าสากล ความตกต่ำทางด้านน้ำหอมจึงได้หยุดลง การก่อตั้งของมหาวิทยาลัยในหัวเมืองสำคัญต่างๆ พร้อมกับการศึกษาค้นคว้าทางเคมี ตลอดจนเทคนิคการกลั่นที่ได้เรียนรู้จากโลกอาหรับได้เพิ่มพูนความรู้ทักษะและเทคนิคในการผลิตน้ำหอมในสมัยนั้น ในขณะที่ Frank incense และ Myrrh ยังคงเป็นน้ำหอมที่ใช้ในการสักการะบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ขุนนาง และผู้ครองแคว้นได้ค้นพบถึงความรู้สึกสะอาดและคุณสมบัติทางด้านชวนให้หลงใหลของน้ำหอม เมื่อฉีดกระจายลงบนเสื้อผ้าของพวกเขา พวกเขาจะอาบน้ำด้วยน้ำหอมระเหยจากดอกไม้เป็นประจำ เพื่อเคลือบตัวของพวกเขาด้วยน้ำมันหอมเหมือนดั่งพวกเอเธน ที่เคยทำมาก่อน แม้ว่าจะมีข้อจำกัดที่มากกว่า ในทางตรงข้ามกับความรู้ที่ได้รับ การซักล้างและการอาบน้ำได้รับความนิยมมากในช่วงยุคกลาง (Middle ages)ภาชนะบรรจุชนิดใหม่ๆ ได้ถูกออกแบบขึ้น สำหรับการเก็บ Musk , Ambergris และน้ำมันหอมระเหยชนิดต่างๆ ตลอดจนการค้นพบของยางสนและยางไม้หอมต่างๆ กล่องใส่น้ำหอมทรงกลมในลักษณะคล้ายลูกโลกทำด้วยโลหะ ซึ่งสามารถแพร่กระจายกลิ่นผ่านทางฝาเปิดส่วนบนที่ตกแต่งไว้อย่างสวยงาม น้ำหอมได้รับการเชื่อว่ามีคุณสมบัติในการบำบัดโรค สามารถบำบัดโรคระบาดต่างๆ โรคเกี่ยวกับผิวหนัง ระบบย่อยอาหาร ใช้ในสารกันบูด เป็นต้น ในขณะที่เครื่องเทศได้ถูกนำเข้าสู่ยุโรปโดยผ่านเมืองเวนิส(Venice)เมืองนี้จึงได้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งน้ำหอม มาโคโปโร (Marco Polo) ได้เดินทางกลับจากการเดินเรือของเขาพร้อมพริกไทย,ลูกจัน และกานพลู นักเดินเรือชาวอาหรับเดินทางนำเครื่องเทศไปยังอินเดียและซีลอน (Ceylon)ซึ่งพวกเขาสามารถทำการค้ากับพ่อค้าชาวเอเชีย และได้นำเครื่องเทศจากประเทศจีนและประเทศมาเลเซีย พวกเขาได้นำเอาอบเชย,ขิง,ลูกกระวาน และ Saffron (หญ้าฝรั่งชนิดหนึ่งมีสีส้ม) ในขณะที่ Aniseed ,Thyme ,Sage , Basil และ Cumin ได้มีการเพาะปลูกแล้วในยุโรปมาช่วงระยะหนึ่งแล้ว ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 14 ได้ปรากฏพบซึ่งน้ำหอมในรูปของเหลว ผลิตโดยการผสมและปรุงแต่งให้เข้าด้วยกันกับน้ำมันหอมระเหยหลากชนิดและแอลกอฮอล์ ซึ่งเรียกกันในชื่อว่า Eaux de senteur หรือกลิ่นหอมในสมัยนั้น นี่เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมาก เชื่อมโยงไปยังจุดเริ่มต้นของการผลิตน้ำหอม Rosemary และได้รับการตั้งชื่อหลังจากพระราชินีของฮังการีตามตำนานที่เล่าต่อกันมา พบว่ากลิ่นหอมได้ถูกถวายให้กับราชินีอลิซาเบธ ของฮังการี(Queen Elizabeth of Hungary) ในปีคศ.1380 โดยขณะที่พระราชินี มีพระชนณ์มายุได้ 70 พรรษา และทรงมีพระวรกายที่ทรุดโทรม แต่เมื่อพระนางได้ดื่มน้ำจันที่นักบวชถวายให้ ร่างกายก็ฟื้นดีขึ้น เรื่องเล่าได้บอกว่ามันได้ทำให้พระนางกลับเป็นสาวอีกครั้งถึงขนาดที่พระราชาจากโปแลนด์ (Poland)ได้ขอแต่งงานด้วย
การค้นพบอเมริกาในศตวรรษที่ 14 ทำให้เมืองเวนิส (Venice)ต้องสูญเสียความเป็นศูนย์กลางของน้ำหอม เริ่มต้นจากชาวโปตุเกส (Portuguese) และชาวสเปน (Spain) ได้ขยายอาณาจักรการค้าเครื่องเทศโดยมี วานิลา โกโก้ ใบยาสูบ อบเชย และอื่นๆ ในศตวรรษที่ 16 ชาวดัช (Dutch)ได้เป็นผู้ให้คำแนะนำในการผลิต และพัฒนาวิธีการเพาะปลูกใหม่ๆให้ชาวท้องถิ่น Eaux de senteur ได้เพิ่มชนิดและจำนวนขึ้น เริ่มจากการผสมน้ำมันหอมระเหยเดี่ยวเข้าด้วยกัน แอลกอฮอล์ เช่นกุหลาบ ลาเวนเดอร์ ดอกส้ม เป็นต้น หรือผสมกันหลายกลิ่น ซึ่งมีการผสมระหว่าง ดอกไม้ เครื่องเทศ รวมทั้ง มัส (Musk) แอมเบอร์กริส (Ambergris) ในทางความต้องการทางเวชศาสตร์ มันได้ช่วยในการจำกัดกลิ่นที่ไม่พึงปรารถนาที่ผลิตโดยร่างกายของเรา ในขณะที่ช่วงกลางศตวรรษของยุโรปเป็นช่วงแห่งการให้ความสำคัญในสุขลักษณะเฉพาะบุคคล มีความแตกต่างเรื่องการฟื้นฟูศิลปะวิทยาในทวีปยุโรประหว่างศตวรรษที่ 14 และ 16 เมื่อถูกกำหนดให้เป็นพาหะนำโรคร้าย และการติดเชื้อ ศาสตร์และเทคนิคการเป่าแก้วของชาวเวนิสได้ถูกนำมาใช้ในการผลิตขวดยาขนาดเล็กๆ และหลอดแก้วเล็กๆ สำหรับบรรจุน้ำหอม คริสตัล และแก้วสีขาวขุ่น ตลอดจนเครื่องเขียนจากตะวันออก เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
ขวดรูปลูกแพ (Pear-shaped bottle)ทำจากวัสดุที่กล่าวมาข้างต้นตลอดจากทำจากโลหะ ได้ถูกค้นพบเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ภาชนะรูปทรงกลมคล้ายลูกโลก, ภาชนะคล้ายผลส้ม ซึ่งสามารถแบ่งเป็นกลีบๆได้และในแต่ละกลีบนั้นบรรจุน้ำหอมในกลิ่นที่ต่างๆ กันไป น้ำหอมได้เดินทางมาถึงจุดที่รุ่งเรืองที่สุดในศตวรรษที่ 17 ความบ้าคลั่งในการพัฒนาน้ำหอม กระทั่งการละเลยในเรื่องของมาตรฐาน ความสะอาดของใบหน้าและวิกผมที่ใส่กันเวลาพิพากษาในศาล ในสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ยังถูกทำให้หอมด้วยแป้งหอม และน้ำหอม ปี ค.ศ.1656 ถุงมือหอมได้ถือกำเนิดขึ้น ความหลงใหลในการสวมใส่ถุงมือของชนชั้นสูงโดยการขาดการเรียนรู้ถึงวิธีที่ถูกต้อง ทำให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงปรารถนาบนผิวหนัง น้ำหอมชนิดแรงจึงถูกนำมาใช้ในการกลบกลิ่นโดยพระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13-14 ผู้ผลิตถุงมือได้ใช้โอกาสในการเป็นผู้จำหน่ายเพียงผู้เดียวของผู้กลั่นน้ำหอมและนักผลิตน้ำหอม
ในศตวรรษที่ 17 ได้เริ่มมีการใช้ Jasmin, Tuberose และ Rose ในกลุ่มของวัตถุดิบเหล่านี้มาผลิตน้ำหอม เครื่องหอมบรรจุในขวดรูปทรงกลมได้มีการกระจายการใช้กว้างขึ้น และได้ใช้ต่อกันมาจนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 18 ขวดได้ถูกผลิตขึ้นในรูปแบบต่างๆ เช่นผลแพร (Pear shape)ทำให้มีหลายสีสัน เช่นทำให้มีสีใสคล้ายคริสตัล และสีขุ่น การแกะสลักเป็นลวดลายบนภาชนะเงินปิดด้วยทองเป็นที่นิยมมาก การเคลือบด้วยทองแดง , เงิน , ทอง หรือแม้กระทั่งประดับด้วยพลอยประดิษฐ์ประดอยตามแบบที่นอยมกันในศตวรรษที่ 17